การเขียนบทคัดย่อ

          การเขียนบทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

         บทคัดย่อ เป็นการอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้ตลอดจนข้อสรุปต่าง ๆ อย่างย่อ เช่น

 

ตัวอย่างบทคัดย่อ
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง แผ่นปูนซีเมนต์จากชานอ้อย

คณะผู้จัดทำ
1. ด.ญ. ขนิษฐา อุทธา เลขที่ 23 ชั้น ม. 3/1
2. ด.ญ. พรพระเทพ เลี่ยมชาญชัย เลขที่ 24 ชั้น ม. 3/1
3. ด.ญ. วิภาวรรณ เชื้อทอง เลขที่ 25 ชั้น ม. 3/1
4. ด.ญ. กิตติมา หว่างบุญ เลขที่ 35 ชั้น ม. 3/1
สถานศึกษา โรงเรียนวัดราชาธิวาส                                              สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

 

         โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง แผ่นปูนจากชานอ้อย จัดทำขึ้นเพื่อหาวัสดุทดแทนในการผลิตแผ่นปูนซีเมนต์ เป็นการลดการใช้ทรัพยากรประเภท กรวด ทราย ซึ่งมีปริมาณลดน้อยลง อีกทั้งเป็นการนำวัสดุที่เหลือทิ้งกลับมาใช้ให้เป็นประโยชน์อีกครั้ง ในการทดลองครั้งนี้ได้นำชานอ้อย มาเป็นส่วนผสม โดยการตัดชานอ้อยแห้งออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ยาวประมาณครึ่งนิ้ว จากนั้นนำปูนซีเมนต์ ชานอ้อย ทรายและน้ำ มาผสมในอัตราส่วนต่างๆ แล้วเทใส่บล็อก นำไปตากให้แห้ง ตรวจสอบคุณภาพของแผ่นปูนซีเมนต์ชานอ้อย พบว่าอัตราส่วนระหว่างปูนซีเมนต์ ชานอ้อย ทรายและน้ำ ในอัตราส่วน 10 : 1 : 5 : 10 เป็นอัตราส่วนที่ดีที่สุด ทนต่อแรงกระแทกขนาด 20 นิวตัน ในระดับความสูง 5 เมตรได้ แผ่นปูนที่ได้มีลักษณะผิวค่อนข้างเรียบ ดังนั้นผลการทดลองไม่สนับสนุนสมมติฐานที่ว่า ถ้าอัตราส่วนของวัสดุที่ใช้ผสมมีผลต่อคุณภาพของแผ่นปูนซีเมนต์ ดังนั้น อัตราส่วนที่ดีที่สุดคืออัตราส่วนที่มีส่วนผสมของวัสดุเท่าๆ กัน กล่าวคือ การทดลองที่ใช้ส่วนผสมในอัตราส่วนที่เท่าๆ กัน ปรากฏว่า เนื้อของแผ่นปูนไม่เรียบ สามารถใช้มือบิให้แตกออกจากกันได้ ส่วนอัตราส่วนที่ดีที่สุดนั้นมีความแข็งแรงสามารถใช้ในการปูรองบนพื้นได้ แต่ยังไม่แข็งแรงพอที่จะนำไปใช้ในการก่อสร้างผนังอาคาร และปัญหาที่เกิดขึ้น คือ ชานอ้อยจะดูดซับน้ำได้มาก ทำให้แผ่นปูนแห้งก่อนที่จะเกาะตัวกัน จึงต้องนำชานอ้อยแห้งแช่น้ำปูนซีเมนต์ก่อนที่จะทำการผสม ดังนั้นถ้าจะนำชานอ้อยไปใช้เป็นวัสดุทดแทน จึงต้องพัฒนาอัตราส่วนที่เหมาะสมต่อไป หรือหาวัสดุอื่นที่ไม่ดูดซับน้ำมาทดแทน

 

Visitors: 70,462