โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการศึกษาความนิยมในการบริโภคต้มยำรวมมิตรที่ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของสารสกัดจากตะไคร้กับใบมะกรูด

โครงงานวิทยาศาสตร์  เรื่อง  การศึกษาความนิยมในการบริโภคต้มยำรวมมิตรที่ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของสารสกัดจากตะไคร้กับใบมะกรูด
รายวิชา   ว30203  โครงงานวิทยาศาสตร์  


คณะผู้จัดทำ
1.   ด.ช. สุชา      เคหะอุทัย    เลขที่  4   ชั้น ม. 3/2

2.   ด.ญ. พนิดา  ลาดเหลา       เลขที่  20 ชั้น ม. 3/2
3.   ด.ญ. ชโลทร  แจงบำรุง     เลขที่  24 ชั้น ม. 3/2
4.   ด.ญ. อลิส  สุดทะสิน         เลขที่  41 ชั้น ม. 3/2
อาจารย์ที่ปรึกษา     นางจันทิมา  สุขพัฒน์  
สถานศึกษา  โรงเรียนวัดราชาธิวาส   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

 


         จากการทำโครงงานวิทยาศาสตร์  เรื่อง  การศึกษาความนิยมในการบริโภคต้มยำรวมมิตรที่ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของสารสกัดจากตะไคร้กับใบมะกรูด  จัดทำขึ้นเพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างสารสกัดจากตะไคร้และใบมะกรูดที่ใช้ในการทำต้มยำรวมมิตร  ซึ่งเป็นการสะดวกและรวดเร็วสำหรับคนที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง  โดยการนำตะไคร้และใบมะกรูดในอัตราส่วน  1:1 , 1:2 ,  1:3  ,  2:1  และ  3:1  มาสกัดกลิ่นด้วยวิธีการกลั่นด้วยน้ำ  แล้วเก็บสารที่ระเหยด้วยวิธีการควบแน่น  ใส่ขวดปิดฝาแยกไว้ในแต่ละอัตราส่วน  นำไปเก็บไว้ในตู้เย็น  จากนั้นนำสารสกัดที่ได้ไปปรุงต้มยำรวมมิตรในปริมาณที่เท่าๆ กัน  ผลปรากฏว่า  ผู้บริโภคชอบต้มยำรวมมิตรที่ใส่สารสกัดระหว่างตะไคร้กับใบมะกรูดในอัตราส่วน  1: 2  รองลงมาเป็น อัตราส่วน 1:1  ส่วนอัตราส่วนที่ 1:3  กลิ่นใบมะกรูดมากเกินไปแทบจะได้กลิ่นตะไคร้  สำหรับอัตราส่วน  2:1 และ  3:1  นั้นกลิ่นตะไคร้เด่นเกินไป  จากการทดลองเก็บสารสกัดไว้ในตู้เย็นช่องปกติปรากฏว่าสามารถเก็บสารสกัดนี้ไว้ได้นาน  3  วัน  เมื่อเลยเวลา 3 วันกลิ่นของสารสกัดจะเปลี่ยนไป



ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 70,632