ทดสอบก่อนสอบปลายภาค ดวงดาวและโลกของเรา

     

 


ทดสอบก่อนสอบปลายภาคดวงดาวและโลกของเรา

    

1. Pangaea ตามทฤษฎีของ อัลเฟรด เวเกเนอร์ แบ่งมหาทวีปออกเป็น 2 ส่วนคือข้อใด
1 ยูเรเชีย และพันทาลัสซา
2 ลอเรเชีย และกอนด์วานา
3 กอนด์วานา และพันทาลัสซา
4 ลอเรเชีย และพันทาลัสซา

2. หลักฐานฟอสซิลในข้อใดที่แสดงว่าอเมริกาใต้กับแอฟริกาเคยเป็นแผ่นดินเดียวกันมาก่อน
1 มีโซซอรัส
2 ลิสโทรซอรัส
3 เทอราโนดอน
4 อาร์คีออฟเทอริค

3. หลักฐานใดที่นักธรณีวิทยาและนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโลกของเรามีกระบวนการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
1 การปรากฏรอยแตกของแผ่นเปลือกโลก
2 การเกิดแผ่นดินไหว
3 การเกิดภูเขาและภูเขาไฟ
4 ถูกทุกข้อ

4. สาเหตุที่ทำให้เปลือกโลกเคลื่อนที่ คือข้อใด
1 การประทุของหินแข็งในชั้นเปลือกโลก
2 การไหลของหินหนืดในชั้นเนื้อโลก
3 การเคลื่อนที่ของแร่ธาตุในแก่นโลกชั้นใน
4 การแทรกตัวขึ้นมาของแร่ธาตุจากแก่นโลกชั้นนอก

5. แผ่นดินของทวีปอเมริกากับทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา แยกห่างกันมากขึ้นตลอดเวลา เพราะสาเหตุใด
1 แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่เนื่องจากการไหลของแมกมาในชั้นเนื้อโลก
2 หินหนืดในชั้นเนื้อโลกดันแทรกขึ้นมาตามรอยแตกระหว่างเปลือกโลก
3 เกิดการแทรกตัวของภูเขาไฟและแผ่นดินในบริเวณชั้นนี้บ่อยครั้ง
4 ข้อ 1 และ 2 ถูก

6. ข้อใดกล่าวถึงคลื่นไหวสะเทือนได้ถูกต้อง
1. คลื่นทุติยภูมิเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่าคลื่นปฐมภูมิ
2. คลื่นปฐมภูมิเดินทางผ่านชั้นแก่นโลกได้ดีกว่าคลื่นทุติยภูมิ
3. คลื่นปฐมภูมิเป็นคลื่นตามขวาง คลื่นทุติยภูมิเป็นคลื่นตามยาว
4. คลื่นทุติยภูมิเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็นของเหลวได้ดีกว่าคลื่นปฐมภูม

7. ข้อใดเป็นชั้นของโครงสร้างโลกซึ่งแบ่งตามลักษณะมวลสาร
1 ชั้นเปลือกโลก ใต้เปลือกโลก แก่นโลก
2 ชั้นเปลือกโลก เนื้อโลก ธรณีภาค
3 ชั้นเปลือกโลก เนื้อโลก หินหนืด
4 ชั้นเปลือกโลก เนื้อโลก แก่นโลก

8. ธาตุใดเป็นส่วนประกอบของเปลือกโลกภาคพื้นทวีป
1 ซิลิคอนและซิลิกา
2 เหล็กและทองแดง
3 ซิลิคอนและอะลูมินา
4 ซิลิคอนและแมกนีเซียม

9. ข้อใดหมายถึงชั้นเนื้อโลกส่วนบนกับชั้นเปลือกโลกรวมกัน
1 แมนเทิล
2 ธรณีภาค
3 ธรณีภาคพื้นทวีป
4 ธรณีภาคพื้นเปลือกโลก

10. เปลือกโลกใต้มหาสมุทร ประกอบด้วยธาตุอะไรบ้าง
1 ซิลิคอนและแมกนีเซีย
2 ซิลิคอนและซิลิกา
3 ซิลิคอนและอะลูมินา
4 ซิลิคอนและเหล็ก

11. ชั้นใดของโลกที่มีความแตกต่างของลักษณะทางกายภาพมากที่สุด
1. เนื้อโลก
2. เปลือกโลก
3. แก่นโลกชั้นนอก
4. แก่นโลกชั้นใน
12. ผิวโลกในบริเวณต่างๆ มีลักษณะเป็นอย่างไร
1 ที่ราบมีลักษณะเหมือนกัน
2 ส่วนที่เป็นภูเขามีลักษณะเหมือนกัน
3 มีความแตกต่างกันตามลักษณะภูมิประเทศ
4 ส่วนที่เป็นพื้นน้ำจะมีอุณหภูมิปกติเหมือนกัน

13. ปัจจุบันแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา มีการเคลื่อนที่อย่างไร
1 เคลื่อนที่เข้าหากัน
2 เคลื่อนที่แยกออกจากกัน
3 เคลื่อนที่ในทิศที่แตกต่างกัน
4 ยังไม่มีการเคลื่อนที่แต่อย่างไร

14. ข้อใดไม่ใช่หลักฐานที่นำไปใช้ในการอธิบายการเคลื่อนที่ของแผ่นทวีป
1 รอยต่อของทวีป
2 ซากดึกดำบรรพ์
3 เทือกสันเขาใต้สมุทร
4 กระบวนการพาความร้อนของเปลือกโลก

15. หินหนืดที่พ่นออกจากภูเขาไฟ เป็นสารที่มาจากชั้นใดของโลก
1 ชั้นเปลือกโลก
2 ชั้นแมนเทิล
3 ชั้นแก่นโลก
4 ทุกชั้นรวมกัน

คำชี้แจง ใช้คำตอบต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 16 – 20
1 แผ่นธรณีเคลื่อนที่แยกออกจากกัน
2 แผ่นธรณีภาคพื้นทวีปชนกับแผ่นธรณีภาคพื้นทวีป
3 แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคพื้นทวีป
4 แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีใต้มหาสมุทร
16. เทือกเขาแอลป์ในทวีปยุโรป เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีในข้อใด
17. ทะเลแดง เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีในข้อใด
18. หมู่เกาะฟิลิปปินส์ เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีในข้อใด
19. เทือกเขาหิมาลัย เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีในข้อใด
20. เทือกเขาใต้มหาสมุทรแอตแลนติก เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีในข้อใด

21. ปรากฎการณ์ใดที่แสดงให้เห็นว่าภายในโลกยังมีความร้อนอยู่
1 น้ำพุร้อน
2 บ่อน้ำร้อน
3 ภูเขาไฟระเบิด
4 ถูกทุกข้อ

22. เปลือกโลกที่รองรับประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดจากสิ่งใด
1 น้ำท่วม
2 ปฏิกิริยาเคมีและกระแสน้ำ
3 กระแสน้ำและกิจกรรมของมนุษย์
4 ผลกระทบจากแผ่นดินไหวของบริเวณใกล้เคียง

23. ถ้าแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นเคลื่อนที่แยกจากกันที่เทือกสันเขากลางมหาสมุทร จะเกิดผลตามข้อใด
1 การขยายตัวของทวีป
2 เกิดภูเขาไฟใต้มหาสมุทร
3 เกิดแผ่นดินไหวใต้มหาสมุทร
4 เกิดการขยายตัวของมหาสมุทร

24. แผ่นเปลือกโลกใดมีขนาดใหญ่มากที่สุด
1 แผ่นเปลือกโลกยูเรเชียน
2 แผ่นเปลือกโลกแปซิฟิก
3 แผ่นเปลือกโลกแอฟริกา
4 แผ่นเปลือกโลกอเมริกาเหนือ

25. ข้อใดไม่ได้อยู่ในบริเวณที่เรียกว่า "วงแหวนแห่งไฟ (ring of fire)"
1 บริเวณขอบมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งหมด
2 บริเวณรอยต่อภูเขาแอลป์และภูเขาหิมาลัย
3 ประเทศญี่ปุ่นทั้งหมด
4. บริเวณด้านตะวันตกของเม็กซิโก

26. ตามทฤษฎีการแปรสัญฐาน (Plate tectonics) ข้อใดอยู่ในทวีป "ลอเรเชีย"
1 ทวีปแอฟริกา
2 ทวีปอินเดีย
3 ทวีปอเมริกาเหนือ
4 ทวีปออสเตรเลีย

27. บริเวณบนผิวโลกที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยมากที่สุดได้แก่
1 แนวรอยต่อภูเขาแอลป์กับภูเขาหิมาลัย
2 บริเวณวงแหวนแห่งไฟ
3 บริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก
4 บริเวณใจกลางแผ่นยูราเซียน

28. ถ้าหากเกิดแผ่นดินไหวในขณะที่นักเรียนอยู่บนอาคารสูง ควรปฏิบัติตนอย่างไร
1 รีบวิ่งลงบันได
2 รีบลงชั้นล่างโดยใช้ลิฟต์
3 มุดเข้าใต้โต๊ะภายในอาคาร
4 ไปที่หน้าต่าง เพื่อขอความช่วยเหลือ

29. มาตราที่ใช้วัดความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหว คือข้อใด
1 ริกเตอร์
2 เมอร์แคลลี
3 โมลด์
4 เวอร์นเวิร์ด

30. แนวการเกิดแผ่นดินไหวของโลกในข้อใดมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุด
1 แนวภูเขาแอลป์-หิมาลัย
2 แนวแถบหมู่เกาะอันดามัน
3 แนวล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก
4 แนวสันกลางมหาสมุทรแอตแลนติก

31. เครื่องบันทึกคลื่นแผ่นดินไหวมีชื่อเรียกว่าอะไร
1 ไซสโมกราฟ
2 บารอมิเตอร์
3 สเฟียร์โรมิเตอร์
4 ไกเกอร์ มูเลอร์ เคาเตอร์

32. เหตุใดจึงต้องมีการกำหนดขนาดของแผ่นดินไหว
1 เพื่อป้องกันการเกิดแผ่นดินไหว
2 เพื่อทราบถึงศูนย์กลางของการเกิดแผ่นดินไหว
3 เพื่อตรวจสอบการเกิดแผ่นดินไหวล่วงหน้า
4 เพื่อทราบผลกระทบหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

33. การเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้งที่เกิดความเสียหายมากจะเป็นบริเวณใด
1 ตามผิวโลก
2 บริเวณใกล้จุดศูนย์
3 บริเวณจุดศูนย์กลางโลก
4 บริเวณที่เหนือจุดศูนย์หรือจุดกำเนิดผิว

34. ข้อใดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวขนาด 6 ริคเตอร์
1 อาคารสิ่งก่อสร้างโดยมากเสียหาย สะพานพังทลาย
2 อาคารที่มีการออกแบบและโครงสร้างที่ไม่ดีเสียหาย กำแพงพังล้ม
3 ทุกสิ่งทุกอย่างเสียหายวัตถุทุกอย่างกระเด็นปลิวว่อนในอากาศ
4 ต้นไม้โอนเอน เครื่องประดับบ้านเคลื่อนที่ได้ สิ่งก่อสร้างเสียหายเล็กน้อย

35. ปรากฏการณ์ใดเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
1. เปลือกโลกทรุดตัว
2. เปลือกโลกเกิดการกระแทกตามแนวระดับ
3. เปลือกโลกเกิดกระทบกระแทกออกไปบริเวณรอบๆ ในรูปของคลื่น
4. ถูกทุกข้อ

36. ข้อใดไม่ใช่ก๊าซที่ได้มาพร้อม ๆ กับภูเขาไฟระเบิด
1 ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
2 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
3 ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
4 ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์

37. ก่อนและหลังเกิดภูเขาไฟระเบิดมักจะเกิดปรากฏการณ์ตามธรรมชาติตามข้อใด
1 แผ่นดินไหว
2 พายุภูเขาไฟ
3 พายุฟ้าคะนอง
4 คลื่นยักษ์ในมหาสมุทร
38. บริเวณที่อยู่ห่างจากรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก เช่น ประเทศไทย มีโอกาสเกิดภูเขาไฟระเบิดหรือไม่
เพราะเหตุใด
1 มีโอกาส เพราะแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ตลอดเวลา
2 ไม่มีโอกาส เพราะอยู่ห่างจากบริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟ
3 ไม่มีโอกาส เพราะประเทศไทยไม่มีรอยแยกของชั้นหินอยู่เลย
4 มีโอกาส เพราะหินหนืดมีโอกาสดันขึ้นมาตามรอยแตกของชั้นหินได้

39. คาบอุบัติซ้ำมีความหมายตรงกับข้อใด
1. บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวเป็นประจำ
2. การเกิดแผ่นดินไหวหลังภูเขาไฟระเบิด
3. ระยะเวลาของการเกิดแผ่นดินไหวในแต่ละครั้ง
4. รอบเวลาของการเกิดแผ่นดินไหว ณ บริเวณหนึ่งๆ

40. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับแผ่นดินไหว
1. เปลือกโลกเกิดการทรุดตัวหรือยุบตัว
2. แผ่นเปลือกโลกส่วนบนขยายตัวได้มากกว่าแผ่นเปลือกโลกส่วนล่าง
3. เกิดจากเปลือกโลกขยายตัวไม่สม่ำเสมอ เพราะความร้อนจากแก่นโลก
4. เปลือกโลกเกิดการกระทบกระแทกเคลื่อนที่ชนหรือแยกตัวออกจากกันได้

41. การระเบิดของภูเขาไฟทำให้เกิด
1 หินแปรมีความแข็งแกร่งขึ้น
2 บรรยากาศของโลกมีอุณหภูมิต่ำลง
3 การปรับของระดับเปลือกโลกให้อยู่ในภาวะสมดุล
4 ถูกทุกข้อ

42. บริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟมากที่สุดคือบริเวณใด
1 แนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก
2 บริเวณที่มีการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก
3 บริเวณที่มีการชนกันของแผ่นเปลือกโลก
4 บริเวณที่มีการแยกห่างจากกันของแผ่นเปลือกโลก
43. การปะทุของภูเขาไฟแบบใดที่มีการระเบิดอย่างรุนแรง ในท้องฟ้าจะเต็มไปด้วยเถ้าถ่านและแก๊ส
1. แบบพีเลียน
2. แบบฮาวายเอียน
3. แบบโวลแคเนียน
4. แบบสตรอมโบเลียน

44. ก่อนภูเขาไฟระเบิดมักจะเกิดแผ่นดินไหวเพราะเหตุใด
1. เกิดคลื่นลมในทะเลที่มีแรงดันมาก
2. หินหนืดที่มีแรงดันสูงเคลื่อนตัว
3. การปรับตัวของหินหนืดกับชั้นหิน
4. การขยายตัวของหินหนืดแต่ละชั้นต่างกัน

45. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงคลื่นสึนามิที่ถูกต้อง
1. ความเร็วของคลื่นไม่ขึ้นอยู่กับความลึก
2. เป็นคลื่นน้ำที่มีความยาวคลื่น 1,000 กิโลเมตร
3. ปรากฏการณ์นี้มักเกิดบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกเท่านั้น
4. จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.0 ริกเตอร์ขึ้นไปในมหาสมุทร

46. อายุเปรียบเทียบ (Realative age) บอกเกี่ยวกับอะไร
1 เป็นอายุเปรียบเทียบโครงสร้างหิน
2 บอกความเป็นมาของหินในชั้นต่างๆ
3 เป็นอายุของหินที่สามารถบอกเป็นจำนวนปีที่ค่อนข้างแน่นอน
4 บอกว่าหินชุดใดมีอายุมากหรือน้อยกว่ากัน แล้วนำมาเปรียบเทียบกับช่วงเวลาทางธรณีวิทยา

47. ซากดึกดำบรรพ์ หมายถึงข้อใด
1 ซากที่เน่าเปื่อยผุพัง
2 สิ่งที่ไม่สามารถบอกช่วงอายุหินได้
3 ร่องรอยแหล่งที่อยู่อาศัย
4 ซากและร่องรอยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช และสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น

48. ข้อใดเป็นประโยชน์ของการศึกษาธรณีประวัติ
1. ใช้ในการสำรวจหาทรัพยากรธรณี
2. สามารถจำกัดขอบเขตของหินชัดเจนขึ้น
3. สามารถรู้ความเป็นมาในอดีตของแผ่นดินที่เราอาศัยอยู่
4. ถูกทุกข้อ

49. ข้อใดเป็นความหมายของอายุเทียบสัมพันธ์
1. การนำตะกอนมาเปรียบเทียบกัน
2. การนำซากดึกดำบรรพ์มาเปรียบเทียบกัน
3. การนำหินมาเปรียบเทียบว่าชุดใดมีอายุมากหรือน้อยกว่ากัน
4. ถูกทุกข้อ

50. เราสามารถหาอายุสัมบูรณ์ของหินหรือซากดึกดำบรรพ์โดยวิธีใด
1. ใช้วิธีเปรียบเทียบอายุหินหรือซากดึกดำบรรพ์นั้น
2. โดยลักษณะทั่วๆ ไป และโครงสร้างของหินหรือซากดึกดำบรรพ์นั้น
3. โดยการคำนวณจากครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสีที่อยู่ในหิน หรือซากดึกดำบรรพ์ที่ต้องการศึกษา
4. ถูกทุกข้อ

51. ข้อใดเป็นความหมายของซากดึกดำบรรพ์ดัชนี
1. ซากดึกดำบรรพ์ที่มีอายุมากที่สุด
2. ซากดึกดำบรรพ์ที่มีอายุน้อยที่สุด
3. ซากดึกดำบรรพ์ที่บอกอายุได้แน่นอน
4. ซากดึกดำบรรพ์ที่พบน้ำมันดิบ

52. แร่ธาตุในข้อใดที่ทำให้ซากดึกดำบรรพ์มรโครงร่างที่แข็ง
1. แคลไซต์
2. โคโลไมต์
3. ซิลิกา
4. ถูกหมดทุกข้อ

53. ในประเทศไทยพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ครั้งแรกที่จังหวัดใด
1. ขอนแก่น
2. กาฬสินธุ์
3. ชัยภูมิ
4. ถูกทุกข้อ

54. ภาคใดของประเทศไทยที่พบซากไดโนเสาร์มากที่สุด
1. ภาคกลาง
2. ภาคใต้
3. ภาคตะวันออก
4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

55. จากรูปภูเขาไฟดังรูป

 

ข้อใดบอกอายุของหินได้ถูกต้อง
1. หิน F มีอายุน้อยกว่าหิน A
2. หิน B มีอายุเท่ากับหิน F
3. หิน A และ B มีอายุมากกว่าหิน F
4. หิน C, D และ E มีอายุมากกว่าหิน F

คำชี้แจง จากภาพแสดงลำดับชั้นหินต่อไปนี้ใช้ตอบคำถามข้อ 56 – 57

56. ชั้นหินใดมีอายุมากที่สุด

1 หินปูน
2 หินทราย
3 หินดินดาน
4 หินกรวดมน

57. จากภาพเป็นชั้นหินที่พบในจังหวัดสระบุรี จะพบซากฟอสซิลอายุประมาณ ๒๗๐ ล้านปี ได้ในหินชั้นใด
1 หินปูน
2 หินทราย
3 หินดินดาน
4 หินกรวดมน

58. ข้อใดไม่จัดเป็นซากดึกดำบรรพ์
1. รอยพิมพ์ใบไม้
2. รอยเท้าของไดโนเสาร์
3. ต้นไม้กลายเป็นหิน
4. อุจระสัตว์กลายเป็นหิน

59. เพราะเหตุใดเราจึงมักไม่พบซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง
1. เนื่องจากลำตัวอ่อนนุ่มจึงมีแนวโน้มถูกทำลายหรือสลายไป
2. เนื่องจากลำตัวเล็กมากเมื่อเป็นซากดึกดำบรรพ์จึงหาไม่พบ
3. เนื่องจากอยู่ในทะเลจึงถูกทำลายโดยน้ำทะเลให้ผุกร่อนได้
4. เนื่องจากไม่มีกระดูกสันหลังสารต่างๆ จึงไม่สะสมในร่างกาย

60. นักธรณีวิทยาสามารถใช้ซากดึกดำบรรพ์บอกให้ทราบถึงอะไรได้บ้าง
1. ประวัติความเป็นมาของพื้นที่บริเวณนั้น
2. สภาพแวดล้อมในอดีตของพื้นที่บริเวณนั้น
3. บอกช่วงอายุของหินชนิดอื่นที่อยู่ร่วมกับหินตะกอน
4. ถูกทุกข้อ

Visitors: 76,545