ทบทวนก่อนสอบปลายภาคเรียนที่ ๒ ชีววิทยา ม.๕

 

              แบบทดสอบทบทวนก่อนสอบปลายภาค ชีววิทยา ม.๕

1.  ข้อใดเป็นหน้าที่ของปากใบ

     1.  คายน้ำ

     2.  คายน้ำ ปล่อยออกซิเจน

     3.  คายคาร์บอนไดออกไซด์และรับออกซิเจน

     4.  คายน้ำ ปล่อยออกซิเจน รับคาร์บอนไดออกไซด์

2.  ใบไม้ทั่วๆไปด้านหลังใบสีเขียวเข้มกว่าด้านท้องใบ เนื่องจากข้อใด

      1.  คลอโรพลาสต์ด้านหลังใบจะมีมากกว่าด้านท้องใบ

      2.  ชั้นคิวติเคิลของด้านท้องใบจะมีมากกว่าด้านหลังใบ

      3.  ชั้นเอพิเดอร์มิสด้านหลังใบจะมีสีเขียวเข้มมากกว่าด้านท้องใบ

      4.  คลอโรพลาสต์ด้านหลังใบจะมีสีเขียวเข้มมากกว่าด้านท้องใบ

3.  เซลล์คุมและเอพิเดอร์มิสด้านล่างของใบนั้นเป็นเซลล์แถวเดียวกัน แต่ต่างกันตามข้อใด

      1.  เอพิเดอร์มิสมีนิวเคลียส เซลล์คุมไม่มีนิวเคลียส

      2.  เอพิเดอร์มิสไม่มีนิวเคลียส เซลล์คุมมีนิวเคลียส

      3.  เอพิเดอร์มิสมีคลอโรพลาส เซลล์คุมไม่มีคลอโรพลาส

      4.  เอพิเดอร์มิสไม่มีคลอโรพลาส เซลล์คุมมีคลอโรพลาส

4.  เซลล์คุมเปลี่ยนแปลงจากเซลล์ใด

      1.  Stoma

      2.  Cutin

      3.  Epidermis

      4.  Parenchyma

5.  ลักษณะใดของใบที่เหมาะสำหรับการสร้างอาหารของพืชมากที่สุด

      1.  ใบมีลักษณะเป็นเส้นบางๆกระจายไปทั้วกิ่ง

      2.  ใบแบนบาง มีความหนาและมีพาลิเสดเซลล์หลายๆชั้น

      3.  ใบแบนบาง พื้นที่ผิวมาก ใบแผ่ออกแต่ละใบไม่ซ้อนกัน

      4.  ใบหนาขนาดใหญ่ แต่ละใบเรียงซ้อนๆ กันหลายๆ ชั้น

6.  Annual Ring ของพืชเกิดขึ้นได้ในข้อใด

     1.  ในลำต้นของพืชจำพวกสน

     2.  ทั้งในลำต้นและรากของพืชใบเลี้ยงคู่

     3.  เฉพาะในลำต้นของพืชใบเลี้ยงคู่เท่านั้น

     4.  ในลำต้น รากของพืชใบเลี้ยงคู่ทุกชนิด และในลำต้นของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด

7.  กระบวนการสร้างอาหารของพืช พืชจะใช้แสงในการ

      1. แยกไฮโดรเจนจากน้ำ

      2. แยก PGA เป็น 2 โมเลกุล

      3. แยกคาร์บอนจากคาร์บอนไดออกไซด์

      4. แยกออกซิเจนจากคาร์บอนไดออกไซด์

8.  กระบวนการสังเคราะห์แสงเกิดขึ้นในเวลาใด

      1. กลางวันเท่านั้น

      2. เฉพาะกลางวันที่มีแดดจัด 

      3. ตลอดเวลาที่มีแสงสว่าง

      4. กลางคืนน้อยกว่ากลางวัน

9.  พืชชั้นสูงสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแสงสีใด

      1.  สีน้ำเงินและสีส้ม

      2.  สีส้มและสีแดง

      3.  สีน้ำเงินและสีแดง

      4.  สีแดงและสีส้ม

10. แหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของพืชสีเขียวคือข้อใด

      1.  ใบ

       2.  ลำต้น

      3.  คลอโรฟิลล์

      4.  คลอโรพลาสต์

11. ออกซิเจนที่เกิดขึ้นในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงนั้นเกิดจากข้อใด

      1.  H2O

      2.  CO2

      3.  อากาศ

      4.  โมเลกุลของคลอโรฟิลล์

12. กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดขึ้นในส่วนใด

      1.  คลอโรฟีลล์

      2.  คลอโรพลาสต์

      3.  ไซโทพลาสซึม

      4.  เซลล์พืชที่มีสีเขียว

13. การสังเคราะห์ด้วยแสงจะเกิดขึ้นที่บริเวณใดของใบของต้นโกสน

      1.  เฉพาะส่วนที่มีสีเขียวเท่านั้น

      2.  ส่วนที่มีสีเขียวและสีแดง

      3.  ส่วนที่มีเขียวและสีเหลือง

      4.  ทุกส่วนที่มีสี

14. ถ้าความเข้มข้นของ CO2  เป็นจำกัดอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเมื่อวัดที่ความเข้มข้นแสงต่ำกว่าเพิ่ม

     ความเข้มแสงเป็น 2 เท่า อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเป็นอย่างไร

       1.  เพิ่ม 2 เท่า

       2.  เพิ่มน้อยกว่า 2 เท่า

       3.  ลดต่ำกว่าเดิม

       4.  คงเดิม

15. ท่านคิดว่าน้ำในสระที่มีพืชน้ำขึ้นตามปกติ วันหนึ่งๆจะมีสภาพความเป็นกรดสูงสุดเมื่อใด

       1.  เช้า

       2.  กลางวัน

       3.  เย็น

       4.  กลางคืน

16. ส่วนใดของคลอโรพลาสต์ที่มีเอมไซม์เกี่ยวกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง 

       1.  Grana

       2.  Stroma

       3.  Chrolophyll

       4.  Lamella

17. เมื่อส่องแสงสว่างไปยังสารละลายคลอโรฟีลล์แถบคลื่นแสงที่จะสะท้อนออกมาจากสารละลายนั้นมากที่สุด 

คือข้อใด

       1.  น้ำเงิน

       2.  เขียว

       3.  ส้ม

       4.  แดง

18. CO2 เข้าร่วมในปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสงในช่วงใด

       1. Electron Transfer

       2. Calvin Cycle

       3. Hill Reaction

       4. Light Reaction

19. ข้อใดถูกที่สุดต้องตามความหมายของ dark reaction ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

        1.  เกิดขึ้นในกรานา

        2.  เกิดขึ้นในพืชชั้นสูง

        3.  เกิดขึ้นในที่มืด

        4.  เกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องใช้แสง

20. ใน CO2 fixation ของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง CO2 จะเข้ารวมตัวกับสารใด

        1.  RuBP

        2.  PGAL

        3.  PGA

        4.  NADP

21. อิเล็กตรอนและโปรตอนที่ใช้เพื่อการสังเคราะห์อาหารในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชมาจาก

       1.  คลอโรฟีลล์

       2.  แคโรทีนอยด์

       3.  น้ำ

       4.  ทั้ง 1 , 2 และ 3

22. ATP NADP+H+  จาก Light Reaction จะถูกนำไปใช้ในขั้นใดของ Calvin Cycle

       1.  Fixation

       2.  Reduction

       3.  Release

       4.  Regeneration

23. สารประกอบอินทรีย์ที่เป็นสารตั้งต้นในกระบวนการคาร์บอนไดออกไซด์ฟิกเซชัน คือข้อใด

       1.  PGA

       2.  RuBP

       3.  RuBP และ CO2

       4.  RuBP และ PGA

24. น้ำตาลตัวแรกที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงคืออะไร

        1.  PGAL จากวัฎจักรแคลวิน

        2.  กลูโคสจากวัฎจักรแคลวิน

        3.  กลูโคสจากไซโทพลาสซึม

        4.  ฟรักโทสจากไซโทพลาสซึม

25. การรีดิวส์ NADP+ ให้กลายเป็น NADPH + H+ ในปฎิกิริยาที่ต้องใช้แสง จำเป็นต้องได้โปรตอนจากอะไร

        1.  การสลายโมเลกุลของน้ำ

        2.  โปรตอนแกรเดียนท์

        3.  ไซโทพลาสซึม

        4.  การสลายโมเลกุล ATP

26. ลักษณะการจัดเรียงตัวของเนื้อเยื่อชนิดใดของใบที่มีผลต่อการได้มาซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในการสังเคราะห์แสง

     ได้มากที่สุด

        1.  Spongy Cell

        2.  Stomata

        3.  Palisade Cell

        4.  Epidermal Cell

คำชี้แจง  จากข้อ 27 – 35 ให้นักเรียนพิจารณาข้อความ  ข้อใดถูกและถ้าข้อใดผิด

27. การตรึงออกซิเจนจะเกิดขึ้นพร้อมๆกับการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ในขณะที่พืชได้รับแสง

28. สารที่ทำหน้าที่ตรึงออกซิเจนในโฟโตเรสไพเรชันคือสารประกอบที่มีคาร์บอน 2 อะตอม

29. การคายคาร์บอนไดออกไซด์ในโฟโตเรสไพเรชันเกิดเนื่องจากกระบวนการนำคาร์บอนกลับมาสร้างเป็น RuBP ใหม่

30. โฟโตเรสไพเรชัน มีกระบวนการเกิดในลักษณะเดียวกันกับกระบวนการสลายอาหารที่เรียกว่าการหายใจนั่นเอง

31. โฟโตเรสไพเรชันที่เกิดขึ้นในขณะปากใบปิด เนื่องจากพืชได้รับแสงมาก มีผลดีต่อพืชโดยจะเป็นตัวช่วยใช้สารพลังงานสูงที่มีมากเกินความต้องการ

32. พืช C 4 เป็นพืชที่มีวิวัฒนาการในการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 4 ครั้ง

33. สารชนิดแรกซึ่งเป็นสารประกอบคงตัวที่มีคาร์บอน 4 อะตอม ในการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ของพืช C 4 คือ กรกออกซาโลแอซิติก

34. ในการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ของพืช CAM จะมีการสูญเสียน้ำน้อยกว่าพืช C 3 และ C 4

35. พืช C 4 มีการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าพืช C 3

36. ส่วนประกอบที่สำคัญของดอกเพื่อการสืบพันธุ์คือข้อใด

       1.  กลีบดอก  กลีบเลี้ยง

       2.  อับละอองเรณู  รังไข่

       3.  กลีบดอก  เกสรตัวเมีย

       4.  เกสรตัวผู้  เกสรตัวเมีย

37. การปฏิสนธิเกิดขึ้นเมื่อใด

       1.   สเปิร์มเซลล์ผสมกับไข่

       2.   ละอองเรณูตกบนยอดเกสรเพศเมีย

       3.   กลีบดอกไม้เริ่มบาน

       4.   เมล็ดเริ่มงอกเป็นต้นใหม่

38. ข้อใดเป็นพืชที่มีดอกไม่สมบูรณ์

      1.   ชบา

      2.   ข้าว

      3.   ตำลึง

      4.   กล้วย

39. ดอกครบส่วนและดอกสมบูรณ์เพศ มีส่วนใดที่เหมือนกัน

       1.   รังไข่และกลีบดอก

       2.   กลีบดอกและกลีบเลี้ยง

       3.   กลีบเลี้ยงและเกสรเพศผู้

       4.   เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย

40. ดอกในข้อใดที่มีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียอยู่คนละดอกกัน

        1.   กุหลาบ บัว ชบา มะเขือ

        2.   ข้าว มะม่วง กุหลาบ ชบา

        3.   กุหลาบ ชบา มะม่วง ชมพู่

        4.   ข้าวโพด ตำลึง ฟักทอง มะละกอ

41. ความหมายของ "double fertilization"ที่เกิดในดอกไม้ หมายถึงข้อใด

       1. การผสมของ 2 sperm nuclei กับ egg nucleus         

       2. การผสมระหว่าง egg กับ sperm  ที่เกิดขึ้น 2 ครั้ง            

      3. การผสมที่มีผลทำให้เกิด embryo และ cotyledon ในเมล็ด

      4. การผสมที่มีผลทำให้เกิด embryo และ endosperm ในเมล็ด

42. ข้อความใดที่เหมาะสมที่สุดในการอธิบายความหมายของคำว่า"เมล็ด"

     1. ส่วนที่อยู่ภายในเซลล์                                   

     2. เป็นที่เกิดของ reproductive tissue

     3. เป็น gametophyte ที่เปลี่ยนมาเป็น sporophyte 

     4. เป็น embryo ของพืชที่มีส่วนที่เป็นอาหารอยู่ล้อมรอบ

43. ข้อใดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมากที่สุดขณะพืชกำลังงอก

     1. การแบ่งเซลล์          

      2. การหายใจ

     3. การปรุงอาหาร            

     4. การดูดแร่ธาตุ

44. ในระหว่างการงอกของเมล็ดถั่วเหลือง เอมบริโอได้อาหารเกือบทั้งหมดมาจาก

      1. ใบเลี้ยง                              

      2. เอนโดสเปิร์ม

      3. เอพิคอทิล                      

      4. น้ำและแร่ธาตุในดิน

45. ผลจากการเกิดเจริญขั้นที่ 2 (secondary growth) ของพืชใบเลี้ยงคู่ ทำให้อวัยวะของพืชเช่นราก

     และลำต้น เป็นอย่างไร

      1. มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพิ่มขึ้น            

      2. ทำให้รากและลำต้นมีอายุยืนยาว

      3. มีความยาวและส่วนสูงเพิ่มขึ้นตามลำดับ

      4. เพิ่มทั้งขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาว

46. กำหนดให้ 

       ก.   Seed  coat     ข.   Endosperm     ค.   Cotyledon     ง.   Plumuleจ.   Radicle

       ส่วนใดที่เจริญมาจาก  Zygote

      1.   ข

      2.   ค

      3.   ค  และ  จ

      4.   ค  ,  ง  และ  จ

47. เนื้อเยื่อบริเวณใดของเอมบริโอของพืชที่มีบทบาทมากที่สุดในการเริ่มต้นทำให้เมล็ดเริ่มงอกเป็นต้นกล้า 

      1.   Radicle

      2.   Plumule

      3.   Epicotyl

      4.   Hypocotyl

48. ส่วนของมะพร้าวที่นำมาคั้นกะทิเป็นส่วนที่เรียกว่าอะไร 

      1.   Embryo

      2.   Endocarp

      3.   Endosperm

      4.   Cotyledon

49. สิ่งที่เกิดขึ้นมากที่สุดขณะเมล็ดพืชกำลังงอก  คือข้อใด 

       1.   การหายใจ

       2.   การแบ่งเซลล์

       3.   การปรุงอาหาร

       4.   การดูดแร่ธาตุ

50. ถั่วงอกที่รับประทาน  เนื้อเยื่อส่วนใหญ่เป็นส่วนใด 

       1.   Plumule  และ  Hypocotyl

       2.   Endosperm  และ  Cotyledon

       3.   Endosperm  และ  Hypocotyl

       4.   Cotyledon   และ  Hypocotyl

51. ในขณะเมล็ดงอก  ใบเลี้ยงของพืชชนิดใดจะไม่โผล่พ้นดินเลย 

       1.   พืชใบเลี้ยงคู่ทุกชนิด

       2.  พืชใบเลี้ยงเดี่ยวทุกชนิด

       3.  พืชใบเลี้ยงคู่ทุกชนิดและพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด

       4.  พืชใบเลี้ยงเดี่ยวทุกชนิดและพืชใบเลี้ยงคู่บางชนิด

52. การที่ต้นทุเรียนมีขนาดความกว้างของลำต้นใหญ่กว่าต้นหมากที่มีอายุเท่ากัน  และปลูกอยู่บริเวณใกล้ 

     กันเป็นเพราะเหตุใด 

      1.  ต้นทุเรียนมีแคมเบียม ต้นหมากไม่มี

      2.  จำนวนกลุ่มที่ท่อลำเลียงของต้นทุเรียนมีมากกว่าต้นหมาก

      3.  เซลล์ของต้นทุเรียนแบ่งตัวได้รวดเร็วกว่าเซลล์ของต้นหมาก

      4.  ต้นทุเรียนมีการเรียงตัวของกลุ่มท่อลำเลียงเป็นระเบียบมากกว่าต้นหมาก

53. หากนำเมล็ดพืชชนิดเดียวกันจำนวนหนึ่งมาแบ่งออกเป็น  ๓  กลุ่ม  แล้วนำเมล็ดพืชแต่ละกลุ่มแช่น้ำใน 

     จานทดลอง  โดยกลุ่มที่  ๑  แช่ทั้งเมล็ด  กลุ่มที่  ๒  แกะเปลือกหุ้มเมล็ดออก  กลุ่มที่  ๓  แกะเปลือกหุ้ม 

     เมล็ดออก แต่ยังแช่รวมกับเมล็ดในจานทดลอง  เมื่อเวลาผ่านไปปรากฏว่าเมล็ดกลุ่มที่  ๒  งอกได้เร็วที่สุด  

     การทดลองนี้ต้องการตอบปัญหาใด 

     1.  ระยะเวลาในการงอกขึ้นอยู่กับลักษณะของเมล็ดหรือไม่

     2.  เปลือกหุ้มเมล็ดมีผลต่อระยะเวลาในการงอกของเมล็ดหรือไม่

     3.  ปริมาณน้ำที่ใช้แช่เมล็ดมีผลต่อระยะเวลาในการงอกของเมล็ดหรือไม่

     4.  ระยะเวลาในการแช่น้ำต่างกันระยะเวลาในการงอกของเมล็ดจะต่างกันหรือไม่

54. จากข้อ  53  ตัวแปรอิสระในการทดลองนี้  คือข้อใด 

     1.   เปลือกหุ้มเมล็ด

     2.   ปริมาณน้ำที่แช่เมล็ด

     3.   ลักษณะของเมล็ด

     4.   ระยะเวลาในการแช่น้ำ

55. ธาตุอาหารในข้อใดไม่ใช่ธาตุอาหารที่พืชได้รับอย่างพอเพียงจากอากาศและน้ำ 

      1.   ออกซิเจน

      2.   ไฮโดรเจน

      3.   ไนโตรเจน

      4.   คาร์บอน

56. เกี่ยวกับธาตุอาหารของพืชข้อใดถูกต้อง  

      1.  ธาตุไนโตรเจนช่วยเร่งการเจริญเติบโตของดอกและผลของพืช

       2.  พืชสามารถดูดซึมไนโตรเจนจากอากาศมาใช้เพื่อการเจริญเติบโตได้โดยตรง

       3.  ธาตุอาหารหลักซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของปุ๋ยเคมี คือ ไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  และโพแทสเซียม

       4.  พืชต้องการโมลิบดินัมในปริมาณน้อยมาก ดังนั้นพืชสามารถเจริญเติบโตได้เป็นปกติแม้จะไม่ได้รับโมลิบดินัมเลย

57. การที่ก้านของใบไม้หลุดออกมาจากต้น ภายในเวลาไม่นานหลังจากตัดส่วนที่เป็นใบทิ้งเป็นเพราะ

       1.  ขาดอาหาร

       2.  ขาดฮอร์โมน   auxins

       3.  สูญเสียน้ำในตอนตัดใบทิ้ง

       4.  ข้อ 1 และ 3 ถูก

58. การที่รากของพืชพยายามเบนหนีจากแสงสว่างอยู่ตลาดเวลานั้นเนื่องจาก

      1.  ปริมาณของออกซินที่รากมีน้อยกว่าที่ส่วนยอด

      2.  ปริมาณของออกซินที่รากมีน้อยกว่าที่ส่วนยอด

      3.  รากด้านที่ถูกแสงมีปริมาณออกซินมากกว่าอีกด้านหนึ่ง

      4.  รากกด้านที่ถูกแสงมีปริมาณออกซินน้อยกว่าอีกด้านหนึ่ง

59. ฮอร์โมนคู่ใดที่ถูกนำมาใช้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเพื่อให้ได้ต้นทีสมบูรณ์

       1.  ออกซินและจิบเบอเรลลิน

       2.  ออกซินและไซโทไคนิน

       3.  จิบเบอเรลลินและไซโทไคนิน

       4.  จิบเบอเรลลินและเอทิลีน

60. การเคลื่อนไหวแบ turgor movement สัมพันธ์กับกระบวนการข้อใด

      1.  osmosis

      2.  diffusion

      3.  active transport

      4.  cyclosis

 
Visitors: 76,544