แบบฝึกหัดทบทวนเรื่องโครงสร้างของพืช

แบบฝึกหัดทบทวน
เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืช
********************

    1. โครงสร้างที่เจริญเป็นลำดับแรกและมีส่วนสำคัญในการเจริญเติบโตของพืช คือ ................................................
    2. เนื้อเยื่อชั้นนอกสุดมีหน้าที่ในการปกป้องอวัยวะภายในของพืช คือ .................................................................
    3. เนื้อเยื่อที่พบทั่วไปในทำต้นพืชและมีปริมาณมาก .......................................................................................
    4.Xylem และ Phloem เป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อ ชนิด ..............................................................................
    5. เนื้อเยื่อที่เซลล์บางเซลล์มีการเปลี่ยนรูปร่างเป็นส่วนที่เรียกว่า “ขน” คือ ..........................................................
    6. เนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการลำเลียงในลำต้น ...................................................................................
    7. จากลักษณะของเซลล์พาเรงคิมา (parenchymal cell)จงเติมเครื่องหมาย หน้าข้อที่เห็นว่าถูก และ X
        หน้าข้อที่เห็นว่าผิด
        ........ เซลล์พาเรงคิมาบางชนิดมีผนังเซลล์ขั้นทุติยภูมิ
        ........ เซลล์พาเรงคิมาบางชนิดทำหน้าที่ในการสะสมอาหารได้
        ........ เซลล์พาเรงคิมาบางชนิดมีคลอโรพลาสต์ช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสง
        ........ เซลล์พาเรงคิมาบางชนิดอาจจะมีการสะสมอากาศ ช่วยในการลอยตัวของพืชน้ำบางชนิด
    8. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้ จงเติมเครื่องหมาย หน้าข้อที่เห็นว่าถูก และ X หน้าข้อที่เห็นว่าผิด
        ........ ไฟเบอร์ (fiber) จัดเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว ทำหน้าที่ในการให้ความแข็งแรงกับพืช
        ........ สเคลอรีด (sclereid) มีผนังเซลล์ขั้นทุติยภูมิที่มีสารพวกลิกนินเป็นองค์ประกอบ
        ........ คอร์ก (cork) มีผนังเซลล์ขั้นทุติยภูมิที่มีสารพวกซูเบอรินเป็นองค์ประกอบ
    9. องค์ประกอบของท่อไซเล็ม (xylem) ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ คือ .........................................................................
    10. บริเวณปลายรากพืชที่มีกิจกรรมภายในเซลล์สูงที่สุด คือ ..........................................................................
    11. จากภาพต่อไปนี้จงตอบคำถาม และเติมคำลงในช่องว่าง

       

       

ภาพแสดง ...............................................................

 

    12. บริเวณที่พบเด่นชัดในรากของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว แต่มักไม่เด่นในรากพืชใบเลี้ยงคู่ คือ ........................................
    13. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้ จงเติมเครื่องหมาย หน้าข้อที่เห็นว่าถูก และ X หน้าข้อที่เห็นว่าผิด
          ........ เซลล์ซีฟทิวบ์เป็นเซลล์ที่ไม่มีนิวเคลียสอยู่ภายในเซลล์ จึงเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว
          ........ เซลล์ซีฟทิวบ์และเซลล์คอมพาเนียนเจริญมาจากเซลล์ตั้งต้นเดียวกัน
          ........ เซลล์ซีฟทิวบ์มีผนังเซลล์แบบปฐมภูมิ (primary cell wall)
          ........ รากแก้วในพืชใบเลี้ยงคู่เป็นรากที่พัฒนามาจากรากแรกเกิดของพืช
          ........ รากฝอยที่พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจัดเป็นรากพิเศษ ไม่ได้เจริญมาจากรากแรกเกิด
          ........ ระบบรากแก้วของพืชใบเลี้ยงคู่จะดูดน้ำในดินได้ลึกกว่าระบบรากฝอยของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
          ........ หัวผักกาดขาว แครอท มันเทศ จัดเป็นรากพิเศษที่ทำหน้าที่สะสมอาหาร
          ........ มันฝรั่ง แห้ว ขิง ข่า เผือก จัดเป็นลำต้นพิเศษที่ทำหน้าที่ในการสะสมอาหาร
          ........ ถั่วลันเตา พวงชมพู องุ่น จะมีลำต้นพิเศษที่ทำหน้าที่ในการยึดเกาะกับต้นไม้ใหญ่

    คำชี้แจง จงพิจารณาภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์ต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อที่ 14 – 16

                                             

    14. บริเวณที่สามารถเจริญต่อไปเป็นตาตามซอกและเป็นกิ่ง คือ ........................................................................
    15. บริเวณที่มีเนื้อเยื่อเจริญซึ่งจะเจริญไปเป็นลำต้น ใบ และตาตามซอก คือ ........................................................
    16. บริเวณ E มีการเปลี่ยนแปลง คือ ...........................................................................................................
    17. จงพิจารณาภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์ต่อไปนี้ แล้วเติมคำลงในช่องว่าง

        

                            ภาพแสดง .................................................................................


    18. เนื้อเยื่อที่สามารถพบได้ในชั้นคอร์เทกซ์ของพืช ได้แก่ ..............................................................................
    19. บริเวณช่องพิธ (pith) ในลำต้นประกอบด้วยเนื้อเยื่อ ..................................................................................
    20. ช่องพิธ จะพบได้ในพืชหลายชนิดได้แก่ .................................................................................................
    21. ใบไม้ทั่วๆ ไปด้านหลังใบสีเขียวเข้มกว่าด้านท้องใบ เนื่องจาก ....................................................................
    22. เซลล์คุมและเอพิเดอร์มิสด้านล่างของใบนั้นเป็นเซลล์แถวเดียวกัน แต่แตกต่างกัน คือ ......................................
    23. เซลล์คุม เปลี่ยนแปลงจากเซลล์ ...........................................................................................................
    24. ลักษณะของใบที่เหมาะสำหรับการทำหน้าที่สร้างอาหารมากที่สุด คือ ...........................................................
    25. วงปี (annual ring) ของพืชเกิดขึ้นได้ใน ................................................................................................
    26. เมื่อดูชิ้นส่วนที่ตัดตามขวางของพืชด้วยกล้องจุลทรรศน์และพบว่าใจกลางชิ้นส่วนนั้นเป็นเนื้อเยื่อไซเลม แสดง
          ว่าชิ้นส่วนนั้นเป็นส่วน .......................................... ของพืชชนิด ............................................................
    27. ถ้าพบวงปีของลำต้นพืชมีเซลล์ไซเลมใหญ่แถบกว้างและสีจางแสดงว่า .........................................................
    28. เนื้อเยื่อไซเลมประกอบด้วยเซลล์ชนิดต่างๆ คือ
          1. ........................................... มีลักษณะ ........................................................................................
          2. ........................................... มีลักษณะ ........................................................................................
    29. ถ้าตัดต้นไม้ยืนต้นตามขวางซึ่งมีอายุ 1 ปี พบว่ามีเนื้อเยื่อชนิดต่างๆ เรียงลำดับจากชั้นในสุดออกมาด้านนอก
          คือ .................................................................................................................................................
    30. เซลล์ชนิดหนึ่งในกลุ่มท่อน้ำและท่ออาหารของพืชที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการลำเลียงน้ำและอาหาร คือ
          ......................................................................................................................................................
    31. โครงสร้างของพืชใบเลี้ยงคู่ที่ไม่มีเยื่อแคมเบียม คือ ...................................................................................
    32. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้ จงเติมเครื่องหมาย หน้าข้อที่เห็นว่าถูก และ X หน้าข้อที่เห็นว่าผิด
          ....... วงปี (annual ring) ของไม้ยืนต้นเป็นส่วนของไซเล็มระยะที่สอง (secondary xylem)
          ....... วงปีของพืชที่อยู่ในเขตอบอุ่นจะเห็นได้ชัดกว่าวงปีของพืชที่อยู่ในเขตป่าฝนเขตร้อน
          ....... ส่วนของ summer wood ในวงปีจะมีสีเข้มและแคบ ส่วนของเซลล์มีขนาดเล็กและเบียดกัน
          ....... แก่นไม้ (heartwood) อยู่ด้านในสุดของไม้ยืนต้นทำหน้าที่ในการให้ความแข็งแรงกับพืช
          ....... กระพี้ไม้ (sapwood) เป็นส่วนของไซเล็มที่ยังมีชีวิตอยู่และทำหน้าที่ในการลำเลียงน้ำ
          ....... เนื้อไม้ (wood) ของพืชเป็นส่วนของไซเล็มระยะที่สอง (secondary xylem) ทั้งหมด
          ....... ด้านบนของใบจะมีชั้นคิวติเคิลช่วยในการลดการสูญเสียน้ำ
          ....... สาหร่ายหางกระรอกจะมีปากใบอยู่โดยรอบของใบเท่าๆ กัน
          ....... ปากใบของพืชทั่วไปจะพบที่ด้านล่างของใบ มากกว่าทางด้านบน
          ....... เซลล์เอพิเดอร์มิสบนใบพืชโดยทั่วไปจะไม่มีคลอโรพลาสต์กยกเว้นเซลล์คุม
          ....... การคายน้ำของพืช (transpiration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเฉพาะในเวลาที่มีแสงเท่านั้น
          ....... การกัตเตชั่น (guttation) ไม่สามารถเกิดขึ้นได้พร้อมกับการคายน้ำของพืช (transpiration)
          ....... การกัตเตชั่น (guttation) จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยแรงดันราก (root pressure) เป็นหลัก
          ....... การลำเลียงน้ำของพืชจะมีทิศทางจากรากไปยอดเสมอ
          ....... ปัจจัยสำคัญที่สุดในการลำเลียงน้ำของพืช คือ แรงดึงจากการคายน้ำ (transpiration pull)
          ....... แรงโคฮิชั่นของน้ำ (cohesion) ในท่อไซเล็มเป็นพันธะไฮโดรเจน (hydrogen bond)
    33. พืชที่มีใบจัดเป็นใบเดี่ยว (simple leaf) ได้แก่ ..........................................................................................
    34. สภาวะอุณหภูมิและความชื้นที่จะทำให้พืชเกิดการคายน้ำได้ดีที่สุด คือ ...........................................................
    35. การดูดซึมแร่ธาตุเข้าสู่รากพืชจะใช้การลำเลียงแบบ ................................ (...................................) เป็นหลัก
    36. ความหมายของธาตุอาหารที่จำเป็นในพืช (essential nutrient) คือ .....................................
    37. พืชที่อาศัยอยู่ในเขตร้อนหรือทะเลทรายมีการปรับตัว คือ
         1. ...................................................................................................................................................
         2. ...................................................................................................................................................
         3. ...................................................................................................................................................
    38. ทิศทางของการลำเลียงอาหารในโฟลเอ็ม คือ ..........................................................................................
    39. บริเวณของเซลล์พืชที่มีการสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดขึ้นมากที่สุด คือ ...............................................................
    40. ปากใบมีหน้าที่ คือ .............................................................................................................................
    41. คำชี้แจง จงเขียนลูกศรแสดงให้เห็นถึงทิศทางในการลำเลียงน้ำและอาหารของพืชลงในภาพ

                                     

 

 

                 หมายเหตุ  ให้นักเรียนเขียนลูกศรทับลงบนภาพที่กำหนดให้

Visitors: 70,456