โครงงานวิทยาศาสตร์
การเขียนรายงานโครงงาน
ส่วนที่ 1. ปกหน้า
ส่วนที่ 2. ปกใน
ส่วนที่ 3. บทคัดย่อ
อธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้ตลอดจนข้อสรุปต่าง ๆ อย่างย่อ เช่น
บทคัดย่อ
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง แผ่นปูนซีเมนต์จากชานอ้อย
คณะผู้จัดทำ
1. ด.ญ. ขนิษฐา อุทธา เลขที่ 23 ชั้น ม. 3/1
2. ด.ญ. พรพระเทพ เลี่ยมชาญชัย เลขที่ 24 ชั้น ม. 3/1
3. ด.ญ. วิภาวรรณ เชื้อทอง เลขที่ 25 ชั้น ม. 3/1
4. ด.ญ. กิตติมา หว่างบุญ เลขที่ 35 ชั้น ม. 3/1
สถานศึกษา โรงเรียนวัดราชาธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
รายวิชา โครงงานวิทยาศาสตร์ (ว 30203) ปีการศึกษา 2549
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง แผ่นปูนจากชานอ้อย จัดทำขึ้นเพื่อหาวัสดุทดแทนในการผลิตแผ่นปูนซีเมนต์ เป็นการลดการใช้ทรัพยากรประเภท กรวด ทราย ซึ่งมีปริมาณลดน้อยลง อีกทั้งเป็นการนำวัสดุที่เหลือทิ้งกลับมาใช้ให้เป็นประโยชน์อีกครั้ง ในการทดลองครั้งนี้ได้นำชานอ้อย มาเป็นส่วนผสม โดยการตัดชานอ้อยแห้งออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ยาวประมาณครึ่งนิ้ว จากนั้นนำปูนซีเมนต์ ชานอ้อย ทรายและน้ำ มาผสมในอัตราส่วนต่างๆ แล้วเทใส่บล็อก นำไปตากให้แห้ง ตรวจสอบคุณภาพของแผ่นปูนซีเมนต์ชานอ้อย พบว่าอัตราส่วนระหว่างปูนซีเมนต์ ชานอ้อย ทรายและน้ำ ในอัตราส่วน 10 : 1 : 5 : 10 เป็นอัตราส่วนที่ดีที่สุด ทนต่อแรงกระแทกขนาด 20 นิวตัน ในระดับความสูง 5 เมตรได้ แผ่นปูนที่ได้มีลักษณะผิวค่อนข้างเรียบ ดังนั้นผลการทดลองไม่สนับสนุนสมมติฐานที่ว่า ถ้าอัตราส่วนของวัสดุที่ใช้ผสมมีผลต่อคุณภาพของแผ่นปูนซีเมนต์ ดังนั้น อัตราส่วนที่ดีที่สุดคืออัตราส่วนที่มีส่วนผสมของวัสดุเท่าๆ กัน กล่าวคือ การทดลองที่ใช้ส่วนผสมในอัตราส่วนที่เท่าๆ กัน ปรากฏว่า เนื้อของแผ่นปูนไม่เรียบ สามารถใช้มือบิให้แตกออกจากกันได้ ส่วนอัตราส่วนที่ดีที่สุดนั้นมีความแข็งแรงสามารถใช้ในการปูรองบนพื้นได้ แต่ยังไม่แข็งแรงพอที่จะนำไปใช้ในการก่อสร้างผนังอาคาร และปัญหาที่เกิดขึ้น คือ ชานอ้อยจะดูดซับน้ำได้มาก ทำให้แผ่นปูนแห้งก่อนที่จะเกาะตัวกัน จึงต้องนำชานอ้อยแห้งแช่น้ำปูนซีเมนต์ก่อนที่จะทำการผสม ดังนั้นถ้าจะนำชานอ้อยไปใช้เป็นวัสดุทดแทน จึงต้องพัฒนาอัตราส่วนที่เหมาะสมต่อไป หรือหาวัสดุอื่นที่ไม่ดูดซับน้ำมาทดแทน
ส่วนที่ 4. กิตติกรรมประกาศ
เขียนบรรยายแสดงความขอบคุณผู้ที่ให้การสนับสนุน ให้คำปรึกษาและคำแนะนำต่าง ๆ ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เช่น
กิตติกรรมประกาศ
ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องแผ่นปูนซีเมนต์จากชานอ้อยในครั้งนี้ คณะผู้จัดทำได้รับความอนุเคราะห์จากกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในการให้ยืมอุปกรณ์การทดลอง นักการภารโรงที่ช่วยต่อแบบพิมพ์ สำหรับหล่อแผ่นปูน และบุคคลที่ทำให้การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำโครงงานได้ อีกทั้งให้คำปรึกษาแนะนำในการทำโครงงานอย่างเป็นกันเอง คือ ครูจันทิมา สุขพัฒน์ รวมทั้งผู้ปกครองของเพื่อนในกลุ่ม และคุณพ่อคุณแม่ของข้าพเจ้า ที่ให้การสนับสนุนในด้านของงบประมาณและการให้ข้อเสนอแนะต่างๆ คณะผู้จัดทำโครงงานจึงขอขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้
ส่วนที่ 5. สารบัญ
ส่วนที่ 6. บทที่ 1 บทนำ
6.1 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
อธิบายความสำคัญของโครงงาน เหตุผลที่เลือกทำโครงงานเรื่องนี้ และหลักการหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทำโครงงาน เรื่องที่ทำเป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้อื่นเคยศึกษามาแกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แล้วถ้ามีได้ผลเป็นอย่างไร และเรื่องที่ทำนี้เป็นการขยายผลหรือปรับปรุงจากเรื่องที่ผู้อื่นทำไว้แล้วอย่างไรบ้าง
6.2 จุดประสงค์ของโครงงาน
6.3 สมมติฐาน
6.4 ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
6.4.1 นิยามเชิงปฏิบัติการ
6.4.2 ข้อจำกัดในการศึกษา / ทดลอง
ส่วนที่ 7. บทที่ 2 เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
เป็นการเขียนข้อสรุปที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าเอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทำโครงงาน โดยการสรุปเป็นองค์ความรู้ของตนเอง หรือคัดลอกข้อความจากหนังสือ โดยถ้าเป็นการสรุปองค์ความรู้เป็นของตนเอง ต้องอ้างอิงเอกสารที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรมท้ายเล่มรายงาน แต่ถ้าเป็นการคัดลอกข้อความนั้นมา โดยไม่เปลี่ยนแปลงเนื้อหา ให้อ้างอิงในการเขียนด้วย ซึ่งการอ้างอิงที่เป็นที่นิยมคือ การอ้างอิงแบบนาม – ปี และควรระบุเลขหน้าไว้ด้วย จากนั้นต้องอ้างอิงในเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรมท้ายเล่มรายงานด้วยเช่นกัน
ตัวอย่างการอ้างอิงแบบนาม – ปี เช่น
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ (2550 : 47) ได้ให้ความหมายของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ไว้ว่า เป็นการศึกษาเพื่อค้นพบข้อความรู้ใหม่ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ด้วยตัวของนักเรียนเอง และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยมีครูอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ให้คำปรึกษา
ส่วนที่ 8. บทที่ 3 วัสดุ – อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ
8.1 วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี
8.2 วิธีดำเนินการ / วิธีทดลอง
อธิบายขั้นตอนการดำเนินการหรือขั้นตอนการทดลองโดยละเอียด
ส่วนที่ 9. บทที่ 4 ผลการสำรวจ / ศึกษา / ผลการทดลอง
นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการสำรวจรวบรวมข้อมูล หรือจากการทดลองต่าง ๆ ที่สังเกตรวบรวมได้ รวมทั้งเสนอผลงานการวิเคราะห์ข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ด้วย ซึ่งอาจนำเสนอในรูปแบบของตาราง แผนภาพ แผนภูมิต่างๆ ก็ได้
ส่วนที่ 10. บทที่ 5 อภิปรายผลและสรุปผลการสำรวจ
การอภิปรายผล เป็นการนำหลักการ ทฤษฎีที่ได้สืบค้นมาในบทที่ 2 มาอธิบายสนับสนุนผลของการทดลองที่เกิดขึ้นว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ทำไมไม่เป็นอย่างนี้ โดยการอภิปรายผลจากการวิเคราะห์ มีความสมเหตุสมผล น่าเชื่อถือ แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง อภิปรายถึงจุดอ่อนของการทำโครงงาน องค์ประกอบที่ไม่ได้ควบคุมที่มีอิทธิพลต่อผลการศึกษาในการทำโครงงาน และอภิปรายถึงความสำคัญของผลการศึกษา
การสรุปผล เป็นการสรุปผลตามวัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐานควรระบุไว้ด้วยว่า ข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือไม่สนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือยังสรุปไม่ได้
ส่วนที่ 11. เอกสารอ้างอิง / บรรณานุกรม
เป็นการอ้างอิง อ้างถึงหนังสือและหรือเอกสารต่าง ๆ ที่ผู้ทำโครงงานใช้ในการค้นคว้าหาข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำโครงงานนี้
ตัวอย่าง การเขียนรายการอ้างอิงหนังสือ
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. การสอนคิดด้วยโครงงาน. ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments