วิทยาศาสตร์ เพิ่มเติม

  

                     วิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ

รายวิชาเพิ่มเติม            กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น                       เวลา ๔๐ ชั่วโมง  จำนวน ๑ หน่วยกิต

 

     ศึกษา วิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆในธรรมชาติ  รูปแบบความสัมพันธ์และแนวโน้มที่เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติในท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการวิจัย การสังเกต การตั้งคำถาม การตั้งสมมติฐาน    การวางแผน การเขียนเค้าโครงวิจัย  การดำเนินการตรวจวัดสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  การลงข้อสรุป การเขียนรายงาน และการนำเสนองานวิจัย ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อ พัฒนากระบวนการคิด การสืบเสาะหาความรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ และสามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรมและค่านิยม  ที่เหมาะสม

 

ผลการเรียนรู้

๑.  ตั้งคำถามที่กำหนดประเด็นหรือตัวแปรที่สำคัญในการสำรวจตรวจสอบหรือศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจได้อย่างครอบคลุมและเชื่อถือได้

๒.  สร้างสมมติฐานที่สามารถตรวจสอบได้และวางแผนการสำรวจตรวจสอบหลาย ๆ วิธี

๓.  เลือกเทคนิควิธีการสำรวจตรวจสอบทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ได้ผลเที่ยงตรงและปลอดภัยโดยใช้วัสดุและเครื่องมือที่เหมาะสม

๔.  รวบรวมข้อมูลจัดกระทำข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ

๕.  วิเคราะห์และประเมินความสอดคล้องของประจักษ์พยานกับข้อสรุปทั้งที่สนับสนุนหรือขัดแย้งกับสมมติฐานและความผิดปกติของข้อมูลจากการสำรวจตรวจสอบ

๖.  สร้างแบบจำลองหรือรูปแบบที่อธิบายผลหรือแสดงผลของการสำรวจตรวจสอบ

๗.  สร้างคำถามที่นำไปสู่การสำรวจตรวจสอบในเรื่องที่เกี่ยวข้องและนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิดกระบวนการและผลของโครงงานหรือชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ

๘.  บันทึกและอธิบายผลการสังเกตการสำรวจตรวจสอบค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่ค้นพบเมื่อมีข้อมูลและประจักษ์พยานใหม่เพิ่มขึ้นหรือโต้แย้งจากเดิม

๙.  จัดแสดงผลงาน เขียนรายงาน และ/หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิดกระบวนการและผลของโครงงานหรือชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ

 

รวมทั้งหมด  ๙  ผลการเรียนรู้

 

 

 

                                                   เชื้อเพลิงเพื่อการคมนาคม

รายวิชาเพิ่มเติม                                                                               กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น                                                     เวลา  ๔๐  ชั่วโมง        จำนวน  ๑  หน่วยกิต

 

     ศึกษา วิเคราะห์ ทดลอง  องค์ประกอบและประเภทของปิโตรเลียม หินต้นกำเนิดและแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม การสำรวจและแหล่งปิโตรเลียม ผลกระทบและแนวทางแก้ไขที่เกิดจากการสำรวจและการผลิตปิโตรเลียม  การแยกก๊าซธรรมชาติ การกลั่นน้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์จากก๊าซธรรมชาติและจากการกลั่นน้ำมันดิบ และการใช้ประโยชน์ ผลกระทบจากกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมและแนวทางแก้ไข สถานการณ์พลังงานของโลกและของประเทศไทย การใช้พลังงานด้านการคมนาคมของประเทศไทย การกำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ผลกระทบและแนวทางการแก้ไขผลจากการใช้เชื้อเพลิงเพื่อการคมนาคม เชื้อเพลิงที่เป็นพลังงานทดแทน   โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่รู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม

 

ผลการเรียนรู้

๑.   อธิบายความสำคัญ และการกำเนิด ของปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน   และหินน้ำมัน

๒.  อธิบายแหล่ง   การสำรวจ  และปริมาณสำรองของปิโตรเลียม และ แก๊สธรรมชาติ

๓.  อธิบายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและการนำไปใช้ประโยชน์

๔.  อธิบายโครงสร้างราคาและวิเคราะห์สถานการณ์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อการคมนาคม

๕.  อธิบายประเภทและการใช้ประโยชน์  จากเชื้อเพลิงที่เป็นพลังงานทดแทน

๖.  นำเสนอแนวทางการใช้ปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติ  อย่างประหยัดและถูกวิธี

 

รวมทั้งหมด  ๖  ผลการเรียนรู้

 

  

 

                                          คำอธิบายรายวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์

รายวิชาเพิ่มเติม                                                                               กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น                                                        เวลา  ๔๐  ชั่วโมง     จำนวน  ๑  หน่วยกิต

 

          ศึกษาวิเคราะห์  ความหมายและประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์   การวิเคราะห์โครงงาน  การตั้งประเด็นคำถามหรือปัญหา  ตั้งสมมติฐาน  การวางแผนการสำรวจตรวจสอบ  การเลือกเทคนิควิธีการ  วัสดุอุปกรณ์  เครื่องมือ ที่เหมาะสม  การเก็บรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์  สรุปผลการสำรวจตรวจสอบ  การเขียนรายงานและการนำเสนอผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์  โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้  การสำรวจตรวจสอบ  การสืบค้นข้อมูล  อภิปราย และการทดลอง เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน  มีจิตวิทยาศาสตร์  จริยธรรม คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม 

 

ผลการเรียนรู้

๑.  สืบค้นข้อมูลและอภิปรายความหมายและประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทต่าง ๆ

๒.  อภิปรายและวิเคราะห์โครงงานวิทยาศาสตร์ในประเด็นสำคัญ  แสดงความคิดเห็นเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุง  และพัฒนาโครงงาน

๓.  ตั้งประเด็นคำถามหรือปัญหา  ตั้งสมมติฐาน  วางแผนการสำรวจตรวจสอบ  เลือก เทคนิควิธีการวัสดุอุปกรณ์  เครื่องมือที่เหมาะสม  เก็บรวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์  สรุปผลการสำรวจตรวจสอบ  เขียนรายงานและนำเสนอผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์

 

รวมทั้งหมด  ๓  ผลการเรียนรู้

 

                                                          

 

                                                           ของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์

รายวิชาเพิ่มเติม                                                                     กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น                                              เวลา  40  ชั่วโมง     จำนวน  1  หน่วยกิต

 

          ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ สร้างของเล่นอย่างง่ายตามแบบที่กำหนดให้  ดัดแปลงหรือ ประดิษฐ์ของเล่นที่ใช้เครื่องกลอย่างง่ายหรือหลักการทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่าย  และอธิบายการทำงานของของเล่น ด้วย    หลักการทางวิทยาศาสตร์ สามารถใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การแก้ปัญหา  สามารถสื่อสาร  สิ่งที่เรียนรู้  สามารถตัดสินใจ  นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม

 

ผลการเรียนรู้

 

1.  ตั้งคำถามเกี่ยวกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่สังเกตได้จากการเล่นของเล่น

2.  สังเกตและอธิบายหลักการทำงานของเครื่องกลอย่างง่าย วงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่ายที่

     ประกอบขึ้นในของเล่น

3.  ตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของเครื่องกลอย่างง่าย วงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่ายที่

     ประกอบขึ้นในของเล่นที่กำหนด

4.  ออกแบบและประดิษฐ์ของเล่นโดยใช้เครื่องกลอย่างง่าย และไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่าย

     มีเจตคติที่ดีต่อหลักการทางวิทยาศาสตร์ในของเล่น

 

รวมทั้งหมด   5   ผลการเรียนรู้

 

                                                              

 

 

พลังงานทดแทนกับการใช้ประโยชน์

รายวิชาเพิ่มเติม                                                                              กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น                                                        เวลา  40  ชั่วโมง     จำนวน  1  หน่วยกิต

 

          ศึกษา วิเคราะห์ ทดลอง ตรวจสอบ เกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานชีวมวล และพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการทางวิทยาศาสตร์ของพลังงานดังกล่าว และการนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทน และตระหนักในบทบาทและผลกระทบของพลังงานเหล่านั้นที่มีต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม

 

ผลการเรียนรู้

1.  อธิบายความสำคัญของพลังงานทดแทน

2.  อธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์ ในการนำพลังงานแสงอาทิตย์  พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงาน

     ชีวมวลและพลังงานนิวเคลียร์ ไปใช้ประโยชน์

3.  อธิบายการใช้ประโยชน์ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานชีวมวลและพลังงาน

     นิวเคลียร์ ในประเทศไทย

4.  อธิบายข้อดีและข้อจำกัดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์และแนวทางการพัฒนา ของพลังงานแสงอาทิตย์

     พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานชีวมวลและพลังงานนิวเคลียร์

 

รวมทั้งหมด    4   ผลการเรียนรู้

 

                                                                       

 

วิทยาศาสตร์กับความงาม

รายวิชาเพิ่มเติม                                                                               กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น                                                         เวลา  40  ชั่วโมง     จำนวน  1  หน่วยกิต

 

          ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบ และอธิบาย ความงามที่สมวัยและปัจจัยที่มีผลต่อความงาม การดูแลความงามและการเลือกใช้เครื่องสำอาง  เครื่องสำอางในชีวิตประจำวัน การใช้สมุนไพรในท้องถิ่นเพื่อความงามและสุขภาพ เทคโนโลยีเพื่อความงามและสุขภาพ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่รู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ     นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม

 

 

ผลการเรียนรู้

1.  อธิบายส่วนต่างๆ ของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับความงาม และแนวทางในการดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสม

2.  สืบค้นข้อมูล สำรวจตรวจสอบและอธิบายผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับความงามประเภทต่างๆ

3.  สืบค้นข้อมูลและสำรวจตรวจสอบภูมิปัญญาไทยที่เกี่ยวกับความงาม

4.  นำความรู้ไปใช้ในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับความงามได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

5.  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และสร้างสรรค์ผลงานเกี่ยวกับความงามอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม

 

 

รวมทั้งหมด   5   ผลการเรียนรู้

 

                                                      

Visitors: 70,570