วิทยาศาสตร์ ๕

                                วิทยาศาสตร์ ๕

รายวิชาพื้นฐาน            กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓  ภาคเรียนที่ ๑    เวลา ๖๐ ชั่วโมง จำนวน ๑.๕ หน่วยกิต

 

     ศึกษา วิเคราะห์ ความเร่ง ผลของแรงลัพธ์ที่มีต่อวัตถุ แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา แรงพยุงของของเหลว แรงเสียดทาน โมเมนต์ของแรง การเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวตรงและแนวโค้ง งานและพลังงาน พลังงานศักย์และพลังงานจลน์ การเปลี่ยนรูปพลังงาน กฎการอนุรักษ์พลังงาน ความสัมพันธ์ระหว่าง        ความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าและความต้านทานไฟฟ้า    วงจรไฟฟ้าในบ้าน  พลังงานไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้า การคำนวณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ การต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูลและการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

 

รหัสตัวชี้วัด

ว ๔.๑   ม.๓/๑, ม.๓/๒, ม๓/๓

ว ๔.๒  ม.๓/๑, ม.๓/๒, ม๓/๓

ว ๕.๑   ม.๓/๑, ม.๓/๒, ม.๓/๓, ม.๓/๔, ม.๓/๕

 

รวมทั้งหมด   ๑๑    ตัวชี้วัด

ว ๔.๑ ม.๓/๑  อธิบายความเร่งและผลของแรงลัพธ์ที่ทำต่อวัตถุ

ว ๔.๑ ม.๓/๒  ทดลองและอธิบายแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาระหว่างวัตถุ  และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

ว ๔.๑ ม.๓/๓  ทดลองและอธิบายแรงพยุงของของเหลวที่กระทำต่อวัตถุ

ว ๔.๒ ม.๓/๑  ทดลองและอธิบายความแตกต่างระหว่างแรงเสียดทานสถิตกับแรงเสียดทานจลน์และนำความรู้ไปใช้ 

                    ประโยชน์

ว ๔.๒ ม.๓/๒  ทดลองและวิเคราะห์โมเมนต์ของแรง และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 

ว ๔.๒ ม.๓/๓  สังเกตและอธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุที่เป็นแนวตรง และแนวโค้ง  

ว ๕.๑ ม.๓/๑  อธิบายงาน พลังงานจลน์ พลังงานศักย์โน้มถ่วง กฎการอนุรักษ์พลังงาน และความสัมพันธ์ระหว่าง

                   ปริมาณเหล่านี้ รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 

ว ๕.๑ ม.๓/๒  ทดลองและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ กระแสไฟฟ้า ความต้านทาน และนำความรู้   

                    ไปใช้ประโยชน์ 

ว ๕.๑ ม.๓/๓  คำนวณพลังงานไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้า และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 

ว ๕.๑ ม.๓/๔  สังเกตและอภิปรายการต่อวงจรไฟฟ้าในบ้านอย่างถูกต้องปลอดภัย และประหยัด

ว ๕.๑ ม.๓/๕  อธิบายตัวต้านทาน ไดโอด ทรานซิสเตอร์ และทดลองต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้นที่มี

                    ทรานซิสเตอร์ 

Visitors: 70,472